Laboratory of Hormonal analysis in animals

โครงการวิจัยและจัดแสดงหมีแพนด้าในประเทศไทย ได้ดำเนินการเปิดห้องปฏิบัติการเพื่อการวิเคราะห์ฮอร์โมนในหมีแพนด้า เพื่อใช้ในการติดตามวงรอบการเป็นสัด และผสมเทียมในหมีแพนด้า ตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ เป็นต้นมา

โดยใช้การวิเคราะห์หาระดับฮอร์โมนเพศของหมีแพนด้าเพศเมียและเพศผู้ รวมไปถึงฮอร์โมนความเครียด ประกอบด้วย ฮอร์โมนเอสโตรเจน, ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน, ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งห้องปฏิบัติการจะใช้การวิเคราะห์จากตัวอย่างอุจจาระ ปัสสาวะ และน้ำเลือด ด้วยวิธีเอนไซม์อิมมูโนแอสเซ (Brown J. et al., 2006)ห้องปฏิบัติการสามารถติดตามวงรอบการเป็นสัดของหมีแพนด้าเพศเมียได้อย่างถูกต้องแม่นยำ จนสามารถผสมเทียมสำเร็จ ได้ลูกหมีแพนด้าเพศเมียชื่อหลินปิง ในปี ๒๕๕๒ ในระหว่างการดำเนินงานติดตามวงรอบการเป็นสัดในหมีแพนด้านั้น ห้องปฏิบัติการได้ทดลองใช้เทคนิคในการตรวจวิเคราะห์ ตรวจหาฮอร์โมนเพศในสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย อาทิเช่น การติดตามวงรอบการเป็นสัด และการตั้งท้องในช้างไทย, การติดตามวงรอบการเป็นสัดในเสือโคร่ง เสือดาว, สิงโต และกระจงควาย เป็นต้น

จากศักยภาพของห้องปฏิบัติการฯ ที่สามารถรองรับตัวอย่างจากสัตว์ป่าได้หลากหลายชนิดแล้วนั้น ยังมีการส่งตรวจตัวอย่างจากสัตว์เศรษฐกิจคือ โคนม โคเนื้อ และกระบือ นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างอาหารเม็ดที่ผสมฮอร์โมนส่งมาตรวจอีกด้วย ซึ่งทางห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ฮอร์โมนสามารถดำเนินการตรวจวิเคราะห์ได้ผลเป็นอย่างดี จึงทำให้ห้องปฏิบัติการฯ สามารถรองรับงานวิจัยในสัตว์ป่า สัตว์เศรษฐกิจและวัตถุอื่นๆที่สนใจตรวจ ทั้งภายในองค์การสวนสัตว์ และหน่วยงานการศึกษาต่างๆ ที่มีความสนใจในการศึกษาเกี่ยวกับระดับฮอร์โมนได้

ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ฮอร์โมนในสัตว์ (Laboratory of Hormonal analysis in animals) สวนสัตว์เชียงใหม่ รับตรวจวิเคราะห์ฮอร์โมนดังนี้
  1. คอร์ติซอล (Cortisol)
  2. เอสตร้าไดออล (Estradiol)
  3. โปรเจสเตอโรน (Progesterone)
  4. เทสโทสเตอโรน (Testosterone)
  5. เอสโตรน คอนจูเกต (Estrone conjugate)
  6. ลูทีไนซิ่ง ฮอร์โมน (LH)
.
ชนิดตัวอย่าง ระยะเวลารายงานผล(ในวันทำการ) อัตราค่าตรวจตัวอย่างที่ ๑๑ ขึ้นไป(บาท/ตัวอย่าง)
อุจจาระเปียก และวัตถุเปียก ๑๕ วัน ๒๐๐๑
อุจจาระแห้ง และวัตถุแห้ง ๑๐ วัน ๑๕๐๒
ปัสสาวะ ๕ วัน ๗๐๓
น้ำเลือด (ซีรั่ม) ๓ วัน ๕๐๔
ลูทีไนซิ่งฮอร์โมน (LH) น้ำเลือด (ซีรั่ม) ๓ วัน ๑ – ๒๗ ตัวอย่าง ๕,๐๐๐
หมายเหตุ : เริ่มใช้อัตราค่าตรวจนี้ ๑ มกราคม ๒๕๕๘
  1. ค่าตรวจตัวอย่างอุจจาระเปียก (หรือตัวอย่างที่ต้องอบ) จำนวน ๑ – ๑๐ ตัวอย่าง ราคา ๒,๐๐๐ บาท*
  2. ค่าตรวจตัวอย่างอุจจาระแห้ง จำนวน ๑ – ๑๐ ตัวอย่าง ราคา ๑,๕๐๐ บาท*
  3. ค่าตรวจตัวอย่างปัสสาวะ จำนวน ๑ – ๑๐ ตัวอย่าง ราคา ๗๐๐ บาท*
  4. ค่าตรวจตัวอย่างน้ำเลือด (ซีรั่ม) จำนวน ๑ – ๑๐ ตัวอย่าง ราคา ๕๐๐ บาท

*ค่าหาอัตราส่วนเจือจางตัวอย่างและการเจือจางตัวอย่างครั้งละ ๕๐๐ บาท