สีสันของร่างกายทั่วไปจะเป็นสีดำเป็นมันและจะมีสีเหลืองทองบริเวณกระหม่อม ท้ายทอย ด้านข้างของหัว พุ่มหงอนขน ปาก (บริเวณโคนมักจะเป็นสีเทา) หนังรอบตา คอหอย และลายพาดบริเวณโคนขนปลายปีก (จะเห็นได้ชัดในขณะนกกำลังบินและมักจะมองเห็นเป็นสีขาว) นิ้วสีส้ม แตกต่างจากนกขุนทองตรงที่มีขนาดเล็กกว่า คอหอยและกระหม่อมสีเหลืองทอง ตัวเมียจะมีสีเหลืองทองเฉพาะบริเวณกระหม่อมและท้ายทอยเท่านั้น ตัวไม่เต็มวัยลักษณะคล้ายตัวเมีย แต่บริเวณหัวจะมีสีดำ คอหอยมีลายแต้มสีเหลือง
มีถิ่นกำเนิดตั้งแต่อัสสัม ในประเทศอินเดียจนถึงจีนตอนใต้ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบทั่วไป พบตาม ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ว ที่ราบถึงความสูง 800 เมตร เป็นนกประจำถิ่น
ผลไม้ต่าง ๆ เช่น ไทร หว้า มะเม่า ผลไม้เถาบางชนิด น้ำหวานดอกไม้บางชนิด โดยเฉพาะงิ้วป่า และทองหลางป่า แมบว ตัวหนอน
มักพบเป็นคู่ หรือฝูงเล็ก ๆ แต่บางครั้งก็พบเป็นฝูงใหญ่ อาศัยและหากินเฉพาะตามกิ่งก้านและตามยอดไม้ในระดับที่สูงพอสมควร ไม่ค่อยลงมายังพุ่มไม้ หรือบนพื้นดิน เสียงร้อง แหลมสูง
สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์
ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อน หรือระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ทำรังตามโพรงของต้นไม้ ที่อยู่สูงจากพื้นดิน 5-15 เมตร มักเป็นโพรงเก่าของนกหัวขวาน นกโพระดก และสัตว์อื่น ๆ ในแต่ละรังมีไข่ 3-5 ฟอง ไข่สีน้ำเงิน มักใช้รังเดิมในทุก ๆ ปี อาจวางไข่เกินกว่า 1 รังในแต่ละปี
เป็นนกที่มีขนาดเล็ก (22 ซม.)
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560