กวางผาเป็นสัตว์ตระกูลแพะเช่นเดียวกับเลียงผา รูปร่างทั่วไปคล้ายเลียงผา แต่กวางผามีขนาดเล็กกว่าราวครึ่งหนึ่ง มีคอเล็กกว่า หางยาวกว่า และขาสั้นกว่า ต่อมหัวตาที่เป็นช่องเปิดระหว่างจมูกและตาของกวางผาเล็กมาก กระดูกจมูกของกวางผาเป็นคนละชิ้นกับกระดูกหน้า ซึ่งต่างจากเลียงผา การจำแนกชนิด: อาจสับสนกับเลียงผา แต่เลียงผามีขนาดใหญ่กว่า (SH 85-90 ซม.) มีขนสีดำ และมีขนแผงคอที่ยาวชัดกว่า กวางผาสีน้ำตาลอ่อนและมีแถบสีน้ำตาลเข้มพาดกลางหลัง
ในประเทศไทยพบเฉพาะทางภูเขาสูงชันทางภาคเหนือ เช่น ดอยอินทนนท์ ดอยม่อนจอง และ ดอยเชียงดาว ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้า ซึ่งเป็นพื นที่ที่มีระดับความสูงและความลาดชันมาก มีหน้าผาเปิดโล่ง ลานหินผาไร่ร้าง หย่อมป่าตามร่องเขาสามารถพบได้ที่ระดับความสูง 600-4,000 เมตร
ยอดไม้ หญ้า ใบไม้ และผลไม้) อาหารโปรดของกวางผา คือ ยอดอ่อนของหญ้าระบัด กินหญ้าเป็นอาหารหลักในช่วงฤดูฝน ส่วนช่วงฤดูแล้งจะกินพืชล้มลุกซึ่งมีองค์ประกอบของน้ำมากกว่า
อาศัยอยู่เดี่ยวๆตามลำพังบางช่วงอยู่เป็นคู่หรือรวมกลุ่มเล็กๆ (2-6 ตัว) ในช่วงเช้าและเย็นหากินที่โล่งตามทุ่งหญ้าที่ลาดชันน้อยช่วงกลางวันและบ่ายมักนอนพักผ่อนบนลานหินตามหน้าผาชะง่อนหินหรือในดงไม้ มักถ่ายกองมูลตามลานหินในที่โล่งหรือตามหลืบหินที่เป็นหน้าผาชัน ชอบอยู่ในที่ลาดชันกว่าเลียงผากวางผา แต่ละตัวมีเขตพื้นที่หากินเฉพาะตัว มีการทำเครื่องหมายพื้นที่โดยถ่ายมูลซ้ำกองเป็นที่ๆ และป้ายกลิ่นตัวเองกับต้นไม้หรือวัตถุอื่นๆ โดยการถูหน้าหรือลับเขากับสิ่งนั้นกลิ่นตัวและกองมูลที่ทิ้งไว้ตามทางเป็นการบอกตัวอื่นๆว่าพื้นที่นี มีผู้ครอบครองแล้ว
CLASS : Mammalia
ORDER : Cetartiodactyla
FAMILY : Bovidae
GENUS : Naemorhedus
SPECIES : Long-tailed Goral (Naemorhedus caudatus)
สถานะภาพทางการอนุรักษ์ : ใกล้สูญพันธุ์
อายุขัยประมาณ 8-10 ปี
ฤดูผสมพันธุ์ของกวางผาอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม ตั้งท้องนานประมาณ 6 สัปดาห์ ออกลูกครั้งละตัว ลูกกวางผาจะอยู่กับแม่เป็นเวลาประมาณ 6 เดือนแล้วจึงแยกย้ายไป พอถึงวัย 2-3 ขวบก็ผสมพันธุ์ได้แล้ว
ขนาดเมื่อโตเต็มวัย: ความสูงจากพื้นถึงไหล่ (Shoulder height) 50-70 เซนติเมตร
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560