เป็นเต่าน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง กลางหลังกระดองมีสันกลางเห็นได้เด่นชัด มองดูคล้ายเส้นหวาย และอาจด้วยเหตุนี้จึงถูกเรียกว่า “เต่าหวาย” ส่วนหัวมีสีน้ำตาลอ่อนและมีลายหรือจุดสีส้ม จึงทำให้ดูเหมือนว่าหัวเต่าชนิดนี้มีสีออกสีส้ม ขาสีน้ำตาลมีจุด ปนสีส้มเล็กน้อย ผิวหนังสีขาวนวล และมีกระดองสีน้ำตาล ตามวัดที่มีเต่ามักเป็นเต่าชนิดนี้ และเนื่องจากหัวเต่าชนิดนี้มีสีออกส้ม บางคนจึงเรียกว่า “เต่าวัดหัวแดง”
บริเวณที่ราบต่ำในประเทศไทยพบทั่วไปทั้งภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ นอกจากนี้ยังพบในพม่า อินโดจีน และมาเลเซีย พบตามลําแหล่งน้ํา ในลําธารและบึงน้ําจืด ตั้งแต่ที่ราบลุ่มถึงในป่าที่ความสูงปานกลาง
กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร ได้แก่ ผัก ผลไม้ ใบผักตบชวา กินสัตว์พวกไส้เดือน และซากสัตว์เป็นบางครั้ง
ชอบอยู่ตามแม่น้ำลำคลอง หนองบึงทั่วไป โดยเฉพาะภาคกลางพบมาก เป็นเต่าไม่ชอบขึ้นมาอยู่บนบก
สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์
เต่าหวายวางไข่บนบก ช่วงฤดูแล้ง ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม โดยวางไข่ครั้งละ 3 - 6 ฟอง ระยะเวลาฟักไข่นาน 99 - 113 วัน ในช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
กระดองส่วนบนยาวเต็มที่ 48 เซนติเมตร น้ําหนักประมาณ 12 กิโลกรัม
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560