เป็นเต่าน้ําจืดขนาดเล็ก กระดองสีดําสนิท หัวสีน้ําตาลเทา มีลายจุดขนาดใหญ่สีขาวหรือสีเหลืองอ่อนเหนือตา แก้ม และตามใบหน้าอีกหลายแห่ง หาง และขาดํา กระดองส่วนล่างสีดํา หรือสีน้ําตาลมีลายรัศมีสีดําจาง ๆ
พบในอินเดีย อินโดจีน มาเลเซีย สุมาตรา ชวา บอร์เนียว ฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทยพบทั่วไป แต่มีมากในภาคกลาง และภาคใต้ พบตามที่ชุ่มน้ําในที่ราบลุ่ม ได้แก่ หนองน้ํา ทุ่งนา ลําคลอง และแม่น้ํา
เต่าดำกินหอย กุ้ง ผัก และเมล็ดพืชเป็นอาหาร
ชอบกบดานหรือหากินตามพื้นดินโคลนใต้ น้ำ นาน ๆ จึงโผล่ขึ้นมาสักครั้ง ดังนั้นเวลาพบจึงเห็นตัวสกปรกเลอะโคลนอยู่เสมอ กลางวันมักหมกตัวอยู่ในที่รก ชื้นแฉะ หรือตามโคลนใต้พื้นน้ำ
สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์
จะขึ้นบกเวลากลางคืน เพื่อต้องการหาทำเลวางไข่ หรือผสมพันธุ์ หรือย้ายที่ทำมาหากิน วางไข่ครั้งละ 3 - 4 ฟอง ช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม (ในจีน) ระยะเวลาฟักไข่นาน 60 - 80 วัน
กระดองส่วนบนยาวเต็มที่ 20 เซนติเมตร น้ําหนักประมาณ 0.5 กิโลกรัม
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560