เต่าปูลู/"Big-headed Turtle " (Platysternon megacephalum)

สิ่งที่น่าสนใจ :

เป็นเต่าขนาดเล็ก หนักประมาณครึ่งกิโลกรัม กระดองเล็กแบน หัวโตหดเข้ากระดองไม่ได้ ปากคมแข็งแรงคล้ายปากนกแก้ว ขาใหญ่หดเข้ากระดองไม่ได้เช่นกัน ปลายเท้ามีเล็บสามารถปีนขึ้นขอนไม้หรือก้อนหินได้ หางยาวกว่ากระดอง มีเดือยแหลมอยู่ระหว่างขาและก้นข้างละอัน กระดองสีน้ำตาลเข้ม เมื่ออายุน้อยส่วนหัวมีสีออกส้ม เมื่อโตขึ้นหัวค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ ความยาวที่พบสูงสุด 17 เซนติเมตร

ถิ่นอาศัย :

พบในอินโดจีน สำหรับประเทศไทยพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ สกลนคร และภูเขาตามภาคเหนือ เช่น จังหวัดน่าน

อาหาร :

เต่าชนิดนี้ชอบกินปลา กุ้ง หอย ปู กบ เขียด

พฤติกรรม :

สามารถปีนต้นไม้สูงได้ดีมาก ตอนกลางวันจะปีนต้นไม้เพื่อผึ่งแดด แต่จะออกหากินในเวลากลางคืนเป็นเต่าที่มีนิสัยดุ ถ้าจับกระดองเต่าอาจยืดคอแว้งกัดเอาได้ ฉะนั้น การจับเต่าชนิดนี้ให้จับที่โคนหางยกขึ้น เต่าปูลูชอบอาศัยอยู่ตามลำธาร ตามภูเขา ชอบน้ำใสเย็นที่ไหลอยู่เสมอ

สถานภาพปัจจุบัน :

สิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์

วัยเจริญพันธุ์ :

เต่าชนิดนี้วางไข่ ครั้งละ 3-4 ฟอง

ข้อมูลอ้างอิง :

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานที่ชม :


แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 11 เมษายน 2560