เป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีลักษณะคล้ายช้างเอเชียจะแตกต่างที่ใบหู ช้างแอฟริกาจะมีใบหูที่ใหญ่มากมีรูปร่างคล้ายพัดทำหน้าที่ช่วยโบกพัดเพื่อ ระบายความร้อน ผิวหนังมีลักษณะหยาบย่นเป็นรอยอย่างเห็นได้ชัดเจน
พบในทวีปแอฟริกา
ช้างแอฟริกาจะออกหาอาหารทั้งกลางวันและกลางคืน จะใช้เวลาออกหาอาหารและแหล่งน้ำวันละประมาณ 18 - 20 ชั่วโมง อาหารที่ชอบจะเป็นพวกใบไม้สดหรือแห้ง เปลือกไม้ ผลไม้ โดยมีปริมาณในวันหนึ่ง ๆ ถึง 100 - 120 กิโลกรัม กินน้ำประมาณ 80 - 150 ลิตรต่อวัน ซึ่งเมื่อเทียบกับช้างเอเชียแล้ว ช้างแอฟริกาจะกินน้อยกว่า
ลักษณะโขลงของช้างแอฟริกา โดยโขลงของเพศเมียจะเป็นช้างเพศเมียที่สมบูรณ์พันธุ์และลูกๆ รวมทั้งเพศผู้ช่วงอายุยังไม่สมบูรณ์พันธุ์ที่ยังไม่แยกฝูงออกไป โดยมีจ่าฝูงเป็นเพศเมียที่อายุมาก มีขนาดร่างกายใหญ่และเป็นที่ยอมรับของสมาชิกในโขลง ส่วนฝูงของเพศผู้จะเป็นฝูงขนาดเล็กและมีความสัมพันธุ์กันแบบห่างๆ
สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์
ช้างแอฟริกาเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ เช่น ในช่วงฤดูแล้ง ช้างแอฟริกาจะขุดหน้าดินของแม่น้ำที่แห้งเพื่อหาน้ำกิน ซึ่งมีสัตว์หลายชนิดได้มาอาศัยแหล่งน้ำนี้ มูลของช้างจะมีเมล็ดพืชอยู่จำนวนมาก ทำให้ช้างแอฟริกาเป็นสัตว์ที่ช่วยกระจายพันธุ์พืช รวมทั้งมูลช้างยังเป็นที่อาศัยของแมลงปีกแข็งหลายชนิด
CLASS : Mammalia
ORDER : Proboscidea
FAMILY : Elephantidae
GENUS : Loxodonta
SPECIES : African Elephant (Loxodonta africana)
สถานะภาพทางการอนุรักษ์ : สิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายใกล้การสูญพันธุ์
อายุขัยเฉลี่ยประมาณ 70 ปี
ระยะตั้งท้อง ประมาณ 22 เดือน ลูกช้างจะหย่านมช่วงอายุ 6 - 8 เดือน สมาชิกในโขลงจะดูแลลูกช้างจนถึงอายุ 6 ปี เพศเมียช่วงอายุ 25 - 40 ปี จะเป็นช่วงที่สมบูรณ์ในการกำเนิดลูก ส่วนเพศผู้ช่วงอายุ 20 ปีขึ้นไปจึงจะแข็งแรงพอในการต่อสู้กับตัวผู้ตัวอื่นในการเข้าผสมกับช้างเพศเมีย
เพศผู้ที่สมบูรณ์มีความสูงช่วงไหล่ 3..2 - 4 เมตร นำ้หนัก 4,700 - 6,048 กิโลกรัม ส่วนเพศเมียที่สมบูรณ์พันธุ์ความสูงช่วงไหล่ 2.2 - 2.6 เมตร น้ำหนัก 2,160 - 3,232 กิโลกรัม
แก้ไขข้อมูล ณ วันที่ 06 เมษายน 2560